วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์



          สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง  คำว่า สิ่งพิมพ์ หมายถึงสมุด แผนกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผังภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
          คำว่า สื่อ หมายถึง ทำการติดต่อให้ถึงกันชักนำให้รู้จักกันผู้หรือสิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน
          คำว่า พิมพ์ หมายถึง ถ่ายแบบ ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ ให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า ทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใด อันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา
          ดังนั้น สื่อสิ่งพิมพ์ จึงหมายถึงสิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่างๆ
        

ประวัติสื่อสิ่งพิมพ์

        หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะได้ปรากฏบนผนังถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปนและถ้ำลาสควักซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส มีผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนัง ถ้าเป็นรูปสัตว์ลายเส้นจึงเป็นหลักฐานในการแกะพิมพ์ เป็นครั้งแรกของมนุษย์หลังจากนั้นได้มีบุคคลคิดวิธีการทำกระดาษขึ้นมาจนมาเป็นการพิมพ์ในปัจจุบันนั่นคือไชลั่น ซึ่งมีเชื้อสายจีน ชาวจีนได้ผลิตทำหมึกแท่งซึ่งเรียกว่า บั๊ก




ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย

          ในสมัยสมเด็จพระนารายมหาราช กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มแต่ง และพิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนาคริสต์ขึ้น และหลังจากนั้นหมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทย และได้เริ่มด้านงานพิมพ์จนสนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์ ในเมืองไทย พ.ศ. 2382 ได้พิมพ์เอกสารทางราชการเป็นชิ้นแรกคือหมายประกาศห้ามสูบฝิ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์จำนวน 9,000 ฉบับ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2387 ได้ออกหนังสื่อฉบับแรกขึ้น คือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (Bangkok Recorder) เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับและใน 15 มิ.ย. พ.ศ. 2404 ได้พิมพ์หนังสือเล่มออกจำหน่ายโดยซื้อลิขสิทธิ์จาก หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย และได้เริ่มต้นการซื้อขายลิขสิทธิ์จำหน่ายในเมืองไทย หมอบรัดเลย์ได้ถึงแก้กรรมในเมืองไทย กิจการการพิมพ์ของไทยจึงได้เริ่งเป็นต้นของไทย หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2500 ประเทศไทยจึงนำเครื่องพิมพ์แบบโรตารี ออฟเซต (Rotary off set) มาใช้เป็นครั้งแรก โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชนำเครื่องหล่อเรียงพิมพ์ (Monotype) มาใช้กับตัวพิมพ์ภาษาไทยธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดโรงพิมพ์ธนบัตรในเมืองไทขึ้นใช้เอง

ความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์


            การสื่อสิ่งพิมพ์มีลักษณะพิเศษหลายประการทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังคงเป็นสื่อที่มีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบันแม้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าการใช้สื่อสิ่งพิมพ์จะลดน้อยลง และจะหายไปจากบรรณพิภพเนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สื่ออินเทอร์เน็ตจะเข้ามาแทนที่  อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตข้างต้นยังไม่เป็นความจริงในเวลา นี้เพราะ ข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของสังคมไทย ในที่นี้จะขอกล่าวถึงลักษณะพิเศษของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังมีความสำคัญอยู่เวลานี้ ดังนี้
          1 เป็นสิ่งที่มีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อมวลชนประเภทอื่นๆสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อมวลชนที่มีราคาถูกที่สุด
          2 สื่อสิ่งพิมพ์เสนอเรื่องราวที่สามารถเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานได้คงสภาพนานเมื่อประสงค์อ่านหรืออ้างอิงก็สามารถทำได้
          3 สื่อสิ่งพิมพ์เมื่อซื้อมาแล้วจะเปิดอ่านเมื่อใดก็ได้แล้วแต่อารมณ์ เรื่องอารมณ์ เรื่องที่ลงในหนังสือพิมพ์มีหลายรส
          4 สื่อสิ่งพิมพ์เสนอเรื่องราวที่สามารถเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานได้คงสภาพนานเมื่อประสงค์อ่านหรืออ้างอิงก็สามารถทำได้
          5 สื่อสิ่งพิมพ์ให้ข่าวสารและรายละเอียดได้อย่างลึกซึ้งมากกว่าวิทยุโทรทัศน์
          6 สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อมวลชนที่แตกต่างไปจากสิ่งพิมพ์ประเภทอื่นข่าวสาร
          ต่างๆเป็นเรื่องใหม่น่าสนใจชักจูงให้อยากอ่าน อ่านแล้วเกิดความรู้และเข้าใจ เหตุการณ์ต่างๆ มีข้อมูลในการตัดสินใจบางกรณี ทำให้มองเหตุการณ์ต่างๆด้วยทัศนะอันกว้าง และพัฒนา ความรู้สึกนึกคิดเป็นอย่างดี

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์


          ในปัจจุบันสามารถแบ่งประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ได้มากมายหลายประเภท โดยทั้งสิ่งพิมพ์ 2 มิติ และสิ่งพิมพ์ 3 มิติ คือ สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ ใช้วัสดุจำพวกกระดาษและมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอเนื้อหาข่าวสารต่างๆ เช่น หนังสือ นิตยสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ โบชัวร์ ใบปลิว นามบัตร แมกกาซีน พ็อกเก็ตบุ๊ค เป็นต้น ส่วนสิ่งพิมพ์ 3 มิติ คือ สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะพิเศษที่ต้องอาศัยระบบการพิมพ์แบบพิเศษ และส่วนใหญ่จะเป็นการพิมพ์โดยตรงลงบนผลิตภัณฑ์ที่สร้างรูปทรงมาแล้ว สำหรับตัวอย่างการพิมพ์แบบ 3 มิติได้แก่ การพิมพ์สกีนบนภาชนะต่างๆ เช่น แก้ว กระป๋อง พลาสติก การพิมพ์ระบบแพดบนภาชนะที่มีผิวต่างระดับ เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ไฟฟ้า การพิมพ์ระบบพ่นหมึก เช่น การพิมพ์วันหมดอายุของอาหารกระป๋องต่างๆ โดยสามารถจำแนกประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ได้ ดังนี้

          1 สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
                   สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือจะมีหนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน และหนังสือบันเทิง       คดี จะเน้นความรู้ต่างๆ


          2 สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
                   สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร จุลสาร ใบปลิว      แผ่นพับ โบชัวร์ หรือ โปสเตอร์
                    2.1 หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว       ข่าวสารภาพ และความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกับ      ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์  และ    รายเดือน
                    2.2 วารสาร นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระข่าว ความ   บันเทิงที่ มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้ การผลิตนั้น มีการกำหนดระยะเวลาการออกแบบเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร           นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และรายเดือน
                    2.3 จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดย        ให้ผู้อ่านศึกษาหาความรู้ ที่กำหนดออกแบบเผยแพร่เป็นครั้งๆหรือลำดับต่างๆ ในวาระพิเศษ
                    2.4 โบชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บ   ติดกันเป็นเล่มจำนวน 8 หน้า เป็นอย่างน้อยมีปกหน้า และปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะ เกี่ยวกับ โฆษณาสินค้า
                    2.5 ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียวที่เน้นการประกาศ           มักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่านแล้ว    เข้าใจง่าย
                    2.6 แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการผลิตโดยเน้นการเสนอเนื้อหา          ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้นเป็นเนื้อหาที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะเป็นการพับเป็นรูปเล่มต่างๆ
                    2.7 โปสเตอร์ (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่างๆ มี ขนาดใหญ่เป็นพิเศษซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดดเด่นดึงดูดความสนใจ



          3 สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์
                  สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือกระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์ รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุหรือลัง

          4 สิ่งพิมพ์มีค่า
                 สิ่งพิมพ์มีค่า เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่างๆ ซึ่งกำหนดตามกฎหมาย เช่น ธนาณัติ บัตรเครดิต เช็คธนาคาร ตั๋วแลกเงิน หนังสือเดินทาง โฉนด เป็นต้น
                            



          5 สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ
                  สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน ได้แก่ นามบัตร บัตรอวยพร ปฏิทิน ใบส่งของ ใบเสร็จรับเงิน สิ่งพิมพ์บนแก้ว สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น



          6 สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
                    สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเมื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือ   ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น


ประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์


1 สิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ เพราะเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
2 สะดวกสบายสำหรับการใช้งานและราคาถูก
3. เป็นสื่อที่มีความคงทนถาวร
4 สามารถเข้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางสะดวกรวดเร็ว และยังเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องสื่อข้อมูลข่าวสารได้ด้วย
5 มีความเป็นอิสระ สามารถออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่อง ขนาดและเนื้อที่

ข้อดีและข้อจำกัดของสื่อสิ่งพิมพ์


          1 ข้อดีของสื่อสิ่งพิมพ์
                   1.1 กระบวนการในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สามารถจะทำได้หลายแบบ เปิดโอกาสให้เลือกในรูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ เช่น การพิมพ์เป็นเอกสารโรเนียว ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เป็นต้น หากต้องการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ก็ใช้การพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ ซึ่งสามารถเลือกพิมพ์เป็นข่าวดำหรือสีได้ตามต้องการ
                   1.2 สามารถจัดพิมพ์ได้หลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ เช่น ใบปิด จดหมายเวียนหรือเอกสารเผยแพร่ เป็นต้น
                   1.3 สามารถใช้สื่อสิ่งพิมพ์ได้หลาย ๆ ทางอาจใช้เป็นสื่อในการศึกษาโดยตรงหรือใช้สนับสนุนสื่ออื่น ๆ
                   1.4 สามารถเลือกจัดพิมพ์ให้มีระยะเวลาการใช้งานต่าง ๆ กัน เช่น พิมพ์เพื่อใช้  งานระยะสั้นอ่านแล้วทิ้งไป หรือพิมพ์เพื่อเก็บไว้ใช้อย่างถาวร สามารถออกแบบให้ใช้เฉพาะ          บุคคล ใช้เป็นกลุ่มหรือเป็นมวลชนได้
                   1.5 สิ่งพิมพ์สามารถผลิตเพื่อใช้ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะด้านได้
                   1.6 สิ่งพิมพ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางในทุกระดับของสังคม
                   1.7 การผลิตสิ่งพิมพ์สามารถปรับใช้ให้เหมาะสมกับกระบวนการใช้และผลลัพธ์ที่ต้องการตามสภาพของเครื่องอำนวยความสะดวกที่มีอยู่
                   1.8 การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นไปอย่างอิสระ ในการศึกษาสิ่งพิมพ์ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีพิเศษหรือเครื่องอำนวยความสะดวกอย่างอื่นเข้ามาช่วยแต่อย่างใด
                   1.9 ผู้อ่านสามารถใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการเรียนรู้และอ่านซ้ำ ๆ กันได้หลาย ๆ ครั้ง
                   1.10 สื่อสิ่งพิมพ์มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย
                   1.11 สื่อสิ่งพิมพ์มีอายุยาวนาน มีความคงทนถาวรสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน

          2 ข้อจำกัดของสื่อสิ่งพิมพ์
                   2.1 ไม่สามารถเข้าถึงผู้อ่านที่อ่านหนังไม่ออก และผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตา   เช่น คนตาบอดหรือผู้สูงอายุที่สายตาไม่ดี เป็นต้น
                   2.2 วัสดุที่ใช้ผลิตมีความบอบบางและฉีกขาดได้ง่าย
                   2.3 เก็บรักษายากเนื่องจากมีลักษณะ รูปทรง และขนาดแตกต่างกันมาก
                   2.4 การเก็บรักษาในระยะยาว ต้องมีความระมัดระวังในการเก็บ เข่น ควรระวังความชื้นวามร้อนและฝุ่นละออง เป็นต้น
                   2.5 การพิมพ์ในระบบที่มีคุณภาพต้องใช้การลงทุนสูงมาก โดยเฉพาะการพิมพ์ในระบบสี่สี
                   2.6 ปัญหาในการเผยแพร่แจกจ่าย เนื่องจากต้องมีการขนส่ง ถ้าหากการขนส่งไม่สามารถส่งถึงกลุ่มเป้าหมายได้ การรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ ก็จะขาดตอนลง

บทบาท หน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์


          1 บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์มีบทบาท ดังต่อไปนี้
              1.1 บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์มีความสำคัญในด้านการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร สาระ และความบันเทิง ซึ่งเมื่องานสื่อมวลชนต้องเผยแพร่ จึงต้องผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์, วารสาร, นิตยสาร เป็นต้น
            1.2 บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ถูกนำไปใช้ในสถานศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งทำให้ผู้เรียน ผู้สอนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตำรา แบบเรียน แบบฝึกหัดสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
            1.3 บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานด้านธุรกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ถูกนำไปใช้ในงานธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่น งานโฆษณา ได้แก่ การผลิต หัวจดหมาย/ซองจดหมาย, ใบเสร็จรับเงิน/ใบส่งของ, โฆษณาหน้าเดียว, นามบัตร เป็นต้น
            1.4 บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานธนาคารงานด้านการธนาคาร ซึ่งรวมถึง งานการเงิน
และงานที่เกี่ยวกับ หลักฐานทางกฎหมาย ได้นำสื่อสิ่งพิมพ์หลาย ๆ ประเภทมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น ใบนำฝาก, ใบถอน, ธนบัตร, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน และหนังสือเดินทาง
            1.5 บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก สื่อสิ่งพิมพ์ที่ทางห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้า ปลีกใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ใบปิดโฆษณาต่าง ๆ ใบปลิว, แผ่นพับ, จุลสาร

          2 หน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
             2.1 ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ    
             2.2 เป็นแหล่งกลางในการนำเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม   
             2.3 ให้สาระและความบันเทิง   
             2.4 ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ   
             2.5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า

สื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์


          1ความหมายสื่ออิเล็กทรอนิกส์
              สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic media) หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วย วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อาจอยู่ในรูปของ สื่อบันทึกข้อมูลประเภทสารแม่เหล็ก เช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (floppy disk) และสื่อประเภทจานแสง(optical disk)บันทึกอักขระแบบดิจิตอลไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ บันทึกและอ่านข้อมูล
          เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารโทรคมนาคม การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนจะออกมาใน ลักษณะของสื่อประสม หรือมัลติมีเดีย (Multimedia) แสดงผลออกมาหลายรูปแบบตามที่โปรแกรมไว้ เช่น มีเสียง เป็นภาพเคลื่อนไหว สามารถให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ ปัจจุบัน   สื่อประเภทนี้มีหลายลักษณะดังนี้

          2 ประเภทของ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
             2.1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
                   CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทาง         คอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสม ได้   แก้ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วีดีทัศน์ภาพเคลื่อนไหวและเสียง
             2.2 WBI (Web-based Instruction)
                   คือ บทเรียนที่สร้างขึ้นสำหรับการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยนำจุดเด่นของ       วิธีการให้บริการข้อมูลแบบ www มาประยุกต์ใช้ Web Base Instructionจึงเป็นบทเรียน ประเภท CAI แบบ On-line ในที่นี้หมายความว่า ผู้เรียนเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่    ติดต่อผ่านเครือกับเครื่องแม่ข่ายที่บรรจุบทเรียน
             2.3 การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning
                   เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตเป็น การเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตนโดยเนื้อหา  ของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย
          ข้อความ รูปภาพ เสียง วีดีโอ มัลติมีเดียอื่นๆ
             2.4 E-book
                   เป็นคำภาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้าง       ขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยปกติมักจะเป็น แฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
             2.5 E-Training
                   E-Training หมายถึง กระบวนการการฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็น       กระบวนการจัดการฝึกทักษะ เพิ่มพูนสาระความรู้ ที่เน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมนั้นเรียนรู้ด้วย         ตนเอง ผู้เข้าอบรมมีอิสระในการเข้าศึกษา เรียนรู้ตามเวลา โอกาสที่ผู้ฝึกอบรมต้องการโดย      เนื้อหาขององค์ความรู้จะถูกออกแบบมาให้ศึกษาเรียนรู้ได้โดยง่าย ในรูปแบบมัลติมีเดียซึ่ง ประกอบด้วยสื่อที่เป็นข้อความรูป หรืออาจมีภาพเคลื่อนไหว
             2.6 Learning Object
                   หมายถึง การจัดรูปแบบสาระการเรียนรู้เป็นหน่วยที่เป็นอิสระใช้เวลาสำหรับการ         เรียนรู้ เป็นช่วงสั้นๆ ประมาณ 2 ถึง 15 นาที และถึงแม้ว่าจะเป็นการเรียนรู้แบบหน่วยย่อยก็         ตาม Learning Object จะมีความสมบรูณ์ในตัวเอง ซึ่งในแต่ละเนื้อหาจะประกอบชื่อเรื่อง          คำอธิบาย คำสำคัญ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล    ประการหนึ่งคือ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง

ตัวอย่างสื่อสิ่งพิมพ์



          1 หนังสือพิมพ์ Newspaper
          หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่มีความสำคัญ ได้รับความสนใจและมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในชีวิตประจำวันของคนเมืองที่มีความเจริญแล้ว ยิ่งจะได้รับความสนใจในการอ่านกันอย่างแพร่หลาย การเลือกใช้สื่อโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เพื่อนำข่าวสารโฆษณาไปสู่กลุ่มเป้าหมายเราจึงต้องมีความเข้าใจลักษณะของตัวสื่อหนังสือพิมพ์ นั่นก็จะทำให้การโฆษณาของเรามีประสิทธิภาพ
          การลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
          1. โฆษณาเดี่ยว (Display Advertising) เป็นการโฆษณาสินค้าเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ โดยไม่มีโฆษณาอื่นมาปะปนกัน เป็นโฆษณาที่สร้างความตื่นเต้น หรูหรา ยิ่งใหญ่เป็นเอกเทศ ถ้าเป็นสีก็จะทำให้เกิดควาสะดุดตามากยิ่งขึ้น
          2. โฆษณาหมู่ (Classified Advertising) เป็นการลงโฆษณาสินค้าในพื้นที่ที่หนังสือพิมพ์จัดไว้ให้โดยเฉพาะ จะมีสินค้าหลากหลายชนิดลงโฆษณาปะปนกัน เช่นโฆษณาขายที่ดิน รถยนต์มือสอง เรียนภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมหนัง ฯลฯ

          ข้อดี
             1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง
             2. เลือกกลุ่มเป้าหมายทางภูมิศาสตร์ได้
             3. ส่งข่าวสารได้รวดเร็วทันสมัย ทันเวลา
             4. ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวถูกกว่าสื่อชนิดอื่นๆ (ในประเภทสื่อสิ่งพิมพ์)
             5. เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือจากคนทั่วไป
          ข้อเสีย
             1. ไม่สามารถเจาะจงกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะกลุ่มได้
             2. รูปภาพ สีสัน และคุณภาพกระดาษค่อนข้างต่ำ
             3. อายุของหนังสื่อพิมพ์จะสั้น ทำให้ผ่านตาผู้บริโภคได้น้อยครั้ง
            

2 นิตยสาร Magazine

          นิตยสารเป็นสิงพิมพ์ที่รวมเนื้อหาสาระประเภทต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน ที่มีความน่าสนใจหลายๆเรื่อง แต่เป็นเรื่องประเภทเดียวกัน ทำให้สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้ ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้า และจัดพิมพ์ออกมาเป็นเล่มวางตลาดเป็นรายคาบ (Periodical Publication) คือรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน เป็นต้น
ประเภทนิตยสาร
สมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทยได้จำแนกประเภทของนิตยสารที่มีวางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด มีจำนวนมากกว่า 15 ประเภทเช่น
1. นิตยสารการเมือง                                   9. นิตยสารผู้หญิง
2. นิตยสารกีฬา                                        10. นิตยสารผู้ชาย
3. นิตยสารสำหรับเด็ก                                 11. นิตยสารรถ
4. นิตยสารทางการถ่ายภาพและภาพพิมพ์            12. นิตยสารทางศิลป-วัฒนธรรม
5. นิตยสารการท่องเที่ยว                              13. นิตยสารเศรษฐกิจ
6. นิตยสารทางธุรกิจและทางการโฆษณา             14. นิตยสารสุขภาพ
7. นิตยสารบันเทิง                                      15. นิตยสารครอบครัว
8. นิตยสารบ้าน
          ข้อดี
             1. เป็นสื่อที่สามารถเจาะจงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย
             2. สื่อมีอายุยาวนาน ทำให้โฆษณาผ่านตาผู้บริโภคบ่อยครั้ง
             3. สื่อมีคุณภาพ เพราะกระดาษมีคุณภาพ และการพิมพ์มีคุณภาพสูง
             4. มีจำนวนผู้อ่านต่อฉบับสูง
             5. เข้าถึงผู้บริโภคได้ในวงกว้าง
          ข้อเสีย
             ระยะเวลาในการวางแผงจำหน่ายไม่ตรงเวลาทำให้ข่าวสารเกิดความล่าช้า จนบางครั้งข้อมูลดีเดย์อาจพ้นกำหนดไปแล้ว


3 สื่อทางไปรษณีย์ Mail-order advertising
          เอ็ดเวิร์ด เอ็น เมเยอร์(Edward N. Mayer) นักโฆษณาทางไปรษณีย์ ของสหรัฐอเมริกาได้ให้ข้อคิดเป็นหลักการของการดำเนินการโฆษณาทางไปรษณีย์ไว้
"ถึงแม้ชิ้นงานโฆษณาทางไปรษณีย์ของคุณจะเลิศสักเพียงใดก็ตาม ข้อความและคำโฆษณายอดเยี่ยม รูปแบบการจัดภาพในงานศิลปกรรมของคุณก็เป็นที่พึงพอใจ ศิลปการพิมพ์ก็สามารถชนะการประกวดได้รางวัลยอดเยี่ยม แสตมป์ของคุณก็เป็นแสตมป์รุ่นใหม่หายากและเหมาะแก่การเก็บเป็นของที่ระลึก แต่ถ้าชิ้นงานโฆษณาทางไปรษณีย์นั้นส่งไปยังบุคคลที่ไม่เหมาะสมกับสินค้าของคุณ และเขาไม่สามารถซื้อสินค้าคุณได้ ความพยายามทั้งหมดของคุณก็คือ ความล้มเหลว ซึ่งกลับกลายเป็นการสูญเสียที่แพงยิ่ง"
รูปแบบการโฆษณาทางไปรษณีย์
          1. จดหมายขาย Sales Letters เป็นรูปแบบการโฆษณาที่ใช้ข้อความตัวอักษรเป็นหลัก มีลักษณะคล้ายจดหมายสำคัญทางราชการ หากมีการเซ็นต์ชื่อผู้ส่งด้วยลายเซ็นต์ของตนเองแล้ว ยิ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกที่ดี
          2. โปสการ์ด Postcards สามารถใช้ไปรษณียบัตรพิมพ์ข้อความโฆษณาที่เตรียมไว้ หรือใช้วิธีการพิมพ์ไปรษณียบัตรขึ้นมาใหม่ แล้วส่งให้ลูกค้าเป้าหมาย ข้อความโฆษณาจะเป็นข้อความที่สั้นๆ
          3. ใบปลิว Leaflets เป็นใบโฆษณาเล็กๆ แนบมากับจดหมาย นำมาเสริมเพราะใบปลิวสามารถพิมพ์รูปแบบการโฆษณาได้สวยงาม และมีเนื้อหาที่น่าสนใจ
          4. แผ่นพับ Folder or Brochure มีลักษณะคล้ายใบปลิวผสมจุลสาร บางครั้งสามารถพับให้เป็นตัวซองจดหมายได้ในตัว
          5. จุลสาร Booklets มีลักษณะคล้ายหนังสือเล่มบางๆ เล็กๆ มีเนื้อหาหลายหน้ากระดาษ บรรจุข่าวสารรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน แม้จุลสารจะมีค่าใช้จ่ยที่สูงแต่ก็ให้ผลทางด้านความรูสึกที่คุ้มค่า
          6. แค็ตตาล็อก Catalogs เป็นเอกสารหนังสือที่อธิบายรายละเอียดของสินค้าที่สมบูรณ์ที่สุด จะมีภาพสินค้า ขนาด น้ำหนัก สี และรหัสสินค้า เพื่อใช้อ้างอิงในการสั่งซื้อได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องไปดูสินค้าจริงภาพตัวอย่างการโฆษณาทางไปรษณีย์แบบแค็ตตาล็อก สื่อสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง Directories
          นอกจากสื่อสิงพิมพ์เบื้องต้นดังที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ อีกมากมายเช่น สมุดโทรศัพท์ไดเร็คทอรี่ สมุดโทรศัพท์ไดเร็คทรอรี่ คือหนังสือที่รวบรวมรายชื่อ โทรศัพท์ กลุ่มธุรกิจ ร้านค้า สินค้าต่างๆ แยกออกเป็นหมวดหมู่ เรียงลำดับตัวอักษร ลักษณะการโฆษณาก็จะมีพื้นที่พิเศษ คือนอกจากจะมีการบอกชื่อร้านค้า และเบอร์โทรศัพท์แล้วยังมีพื้นที่สำหรับการลงรูปถ่ายร้านค้าหรือสินค้า รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นด้วย สื่อชนิดนี้จะมีข้อด้อยตรงที่กระดาษที่ใช้พิมพ์เป็นกระดาษคุณภาพต่ำ และไม่พิมพ์สี่สี อย่างไรก็ดีสื่อชนิดนี้นับเป็นสื่อที่สำคัญอีกสื่อหนึ่งที่หน่วยงานธุรกิจต่างๆ ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นสื่อที่ให้ประโยชน์จริงๆ อายุของสื่อก็ยาวนานใช้กันเป็นปี ผู้บริโภคที่ต้องการสินค้า สามารถเปิดหาร้านค้าที่จำหน่ายได้ทันที
          ข้อดี
             1. เสียค่าใช้จ่ายต่ำ
             2. สื่อมีอายุที่ยาวนาน
          ข้อเสีย
             1. คุณภาพกระดาษต่ำ
             2. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงแคบ 

ดาวนโหลดไฟล์ E-book

คลิกรูปเพื่อดาวนโหลดไฟล์ E-book

แบบทดสอบ เรื่อง สื่อสิ่งพิมพ์

คลิกที่รูปภาพเพื่อทำแบบทดสอบ